การสร้างธุรกิจบนโลกดิจิทัลมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างแบรนด์ 2) สร้างคอนเทนต์ 3) สร้างช่องทาง 4) สร้างโฆษณา 5) สร้างระบบวัดผล 6) สร้างระบบอัตโนมัติ
- การสร้างแบรนด์
1.1 การสื่อสารจากแบรนด์แบบใกล้ชิดและใส่ใจ (Micro Customized Communication หรือ MCC) มีส่วนประกอบของแบรนด์ 3 ส่วน ได้แก่
• การสร้างแบรนด์บุคคล (Personal Branding) ประกอบไปด้วย Leader, Character และ Presenter
• การสร้างแบรนด์บริษัท (Company Branding)
• การสร้างแบรนด์สินค้า (Product Branding)
1.2 ใส่เรื่องเล่าให้แบรนด์
• คุณคือใคร สำหรับลูกค้า
• สิ่งที่คุณเชี่ยวชาญคืออะไร
• สิ่งที่คุณแตกต่างจากคู่แข่งคืออะไร
• สิ่งที่คุณทำและไม่ทำคืออะไร (จุดยืนของคุณ)
1.3 การเขียนคอนเทนต์ให้แบรนด์มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้การวางเป้าหมาย
• พฤติกรรมผู้บริโภค
• ช่องทางในการสื่อสารและการโปรโมต
• การเดินทางของผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ (Customer Journey)
• กลยุทธ์เรื่องคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้ง (Content Marketing) - สร้างคอนเทนต์
2.1 โครงสร้างของคอนเทนต์แบบ Non-sale Content แบ่งตามหลักจิตวิทยาออกได้เป็น 4 ประเภท
• คอนเทนต์ประเภทตัวอักษร มี 4 รูปแบบ ได้แก่ คอนเทนต์บล็อกโพสต์ (Blog post content) คอนเทนต์กรณีศึกษา (Case study content) คอนเทนต์อีบุ๊ก (E-book content) คอนเทนต์เว็บไซต์ (Website content)
• คอนเทนต์ประเภทกราฟิกรูปภาพ เช่น Info graphic, Slideshow, Quote overlay photo เป็นต้น
• คอนเทนต์ประเภทวิดีโอ เช่น Brand video, Instruction video, Blog video, Webinar
• คอนเทนต์ประเภทปฏิสัมพันธ์ (Interactive Content) เช่น Quiz, Questionnaire, Line@ เป็นต้น
2.2 โครงสร้างของคอนเทนต์แบบ Sale Content มีโครงสร้างการเขียนคอนเทนต์ที่เรียกว่า AIDA ดังนี้
• A – Attention ความสนใจ, I – Interest ความน่าสนใจ
o ช่วยให้ประหยัดเวลาอย่างไรบ้าง ได้กี่วัน กี่ชั่วโมง
o ช่วยเพิ่มรายได้ได้หรือไม่ ถ้าทำได้ จะทำได้กี่เท่าของรายได้เดิม
o ช่วยประหยัดเงินให้ลูกค้าได้หรือไม่ ถ้าทำได้ จะประหยัดเงินได้กี่บาท
• D – Desire สร้างแรงปรารถนาให้ลูกค้า
• A – Call to Action ช่องทางสั่งซื้อ
2.3 การสร้างคอนเทนต์ (Source of Content) ตามหลักการ top 3 ได้แก่
• Top 3 problems
• Top 3 solutions
• Top 3 relationships
2.4 การพัฒนาคอนเทนต์ มีวิธีต่างๆ ดังนี้
• Copy & Paste (ไม่ควรทำ)
• Translate (ไม่ควรทำ)
• Mix It Up, Shake It Up เหมาะกับมือใหม่หัดเขียน
• Real Experience Content ต้องเป็นเรื่องจริงห้ามมโนขึ้นเอง
2.5 ทำคอนเทนต์รูปภาพ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
• รูปภาพเสมือนจริงกับความฝัน และความต้องการของลูกค้าที่ต้องการเห็นตัวเองเป็นในอนาคต
• รูปภาพเสมือนจริงกับฝันร้าย หรือปัญหาที่เกิดขึ้น
• การ์ตูนหรือภาพที่ต่างจากกลุ่มคู่แข่ง
2.6 Social Listening
• เพื่อการสื่อสารให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย จำเป็นต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ลูกค้าของเราคือใคร ลูกค้าของเราอยู่ที่ไหน เขามีปัญหาอะไรอยู่ และเขามองหาวิธีแก้ไขปัญหาแบบไหนอยู่
• Social listening tools หรือ Social monitoring tools ในประเทศไทย ได้แก่ Google Trends เก็บข้อมูล สำรวจพฤติกรรม จากแหล่งค้นหาที่ใหญ่ที่สุด, Facebook Audience Insights สำรวจพฤติกรรมลูกค้าผ่านทางเฟซบุ๊ก, Hootsuite จัดการและเผยแพร่ทุกอย่างในหน้าจอเดียว - เทคนิคขายออนไลน์
3.1 การตลาดแบบคลาสสิกในยุคดิจิทัล (Traditional Marketing) มี 3 ช่องทาง ดังนี้ Event Marketing, Personalized Gift, Connection Collection
3.2 Social Commerce เป็น E-commerce อย่างหนึ่งที่ทำการตลาดโดยนำโซเชียลมีเดียมาผสม
3.3 ศึกษาพื้นที่ออนไลน์ก่อนลงสนามการตลาด (Digital Marketing Landscape) ปัจจัยในการศึกษามี 5 อย่าง ได้แก่
• การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในแต่ละพื้นที่
• ลำดับของการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละประเทศ
• Messenger Application
• ลักษณะของการเสพคอนเทนต์
• เทรนด์อีคอมเมิร์ชในแต่ละประเทศ
3.4 ทรัพย์สินบนโลกออนไลน์ที่เราต้องมี
• Content Marketing Asset คอนเทนต์คุณภาพส่วนใหญ่มาจาก Real experience content
• Fan Asset ผู้ติดตามที่มีคุณภาพคือผู้ติดตามที่ใช่และชอบเรา
• Web Content Asset เว็บข่าวต่างๆ ที่สร้างตัวเองให้เป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อผู้บริโภค
• Database Asset ฐานข้อมูลลูกค้า เช่น อีเมลของลูกค้า
• E-commerce Asset
3.5 วิเคราะห์การเดินทางของผู้บริโภคออนไลน์ (Customer Journey) การเดินทางของผู้บริโภคออนไลน์หรือกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่พบสินค้า ค้นหาสินค้า ไปจนถึงการซื้อสินค้า (การรับรู้ – aware, การค้นหาข้อมูล- search, ตัดสินใจซื้อ – buy, ซื้อซ้ำ – repurchase) การวิธีวิเคราะห์ Customer Journey ได้แก่ วิเคราะห์ลูกค้า การค้นหาข้อมูล ตัดสินใจซื้อ และซื้อซ้ำ
3.6 Service Quality (การบริการอย่างมีคุณภาพ) ทำการสำรวจในด้านต่างๆ ได้แก่ ความแข็งแรงของแบรนด์ เปรียบเทียบกับคู่แข่ง คุณภาพสินค้า โครงสร้างการสื่อสารการตลาด และบริการหลังการขาย
3.7 60% ของคนยุคใหม่ค้นหาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ใช่จากโฆษณา โฆษณาแบบ Post engagement ให้การตอบสนองและผลลัพธ์ที่ดีกว่าการซื้อไลค์เพราะเป็นการสร้าง Credit ability ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจติดตาม
3.8 การตัดสินใจซื้อไลค์แบบไม่คำนวณใดๆ เลยจะทำให้สูญเปล่า ซึ่งการยิงโฆษณาบนเฟซบุ๊กแบ่งตามลักษณะ
• Interest ยิงโฆษณาตามความสนใจลูกค้า
• Custom audience ยิงโฆษณาตามฐานข้อมูลที่เรามีอยู่แล้ว
• Lookalike ยิงโฆษณาไปยังกลุ่มที่คล้ายคลึงกับกลุ่มเป้าหมายของเราเพื่อเพิ่มผู้ติดตามจำนวนมาก
3.9 Conversational Commerce การพูดคุยกับลูกค้าหรือการตอบลูกค้าผ่านระบบคอลเซ็นเตอร์แบบอัตโนมัติ และใช้ Chatbot
3.10 6 ตำแหน่งที่จำเป็นอย่างมาก เมื่อต้องสร้างทีมการตลาดดิจิทัล
• Strategic Planner หรือ Head of Digital Marketing
• Content Creator
• Graphic Designer
• Online Community Manager
• Ads Manager
• Researcher - เทรนด์ดิจิทัล
4.1 พลังของคอนเทนต์ที่มีอิทธิพลต่อชาวมิลเลนเนียล ซึ่งชอบลองสิ่งใหม่ๆ เป็น First adopter ใน cycle ของเทคโนโลยี ชอบออนไลน์บ่อยสุด คนกลุ่มนี้จะไม่เชื่อโฆษณา ก่อนซื้อสินค้า จะศึกษาหาข้อมูลเองที่เรียกว่า User-generated Content หรือ UGC ซึ่งก็คือคอนเทนต์ที่ผลิตโดยผู้บริโภค เช่น การรีวิว การให้ดาว การติชม
4.2 Engagement คือการมีส่วนร่วม สมการการสร้าง Engagement คือ Quality content + Frequency + Time due to behavior of audience
4.3 ทุกๆ ปีวงการตลาดดิจิทัลจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ผู้บริโภคตัดสินใจนานกว่าที่คิด โดยการมองหา รีวิว และความเป็นที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ต่างๆ, ต้องได้ทันที, คนธรรมดาที่ทรงอิทธิพล หรือ Influencer บนโซเชียลมีเดียที่มีอิทธิพลมากขึ้น, Everything Should Be Personalized, ผู้บริโภคคาดหวัง Service quality มากขึ้น