ศาสตร์แห่งชีวิต (Life Science) คือวิทยาศาตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการบูรณาการและประสานธรรมชาติภายในกับธรรมชาติภายนอกตัวเรา เพื่อให้เกิดความสุขและประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตในเบื้องต้น และเข้าถึงสัจธรรมในเบื้องลึก ภายใต้กฏธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ธรรมชาติภายใน จากระดับตื้น ได้แก่ ร่างกาย จนถึงระดับลึกลงไป ได้แก่ จิตใจ
ธรรมชาติภายนอก จากระดับล่าง ได้แก่ สังคมและสิ่งแวดล้อม จนไปสู่ระดับบน ได้แก่ สากลจักรวาล

ความสุข เริ่มต้นจากความต้องการ สิ้นสุดที่การหามาได้

ความสุขที่เกิดจากความต้องการ 3 ประเภท

  1. ความสุขที่เกิดจากความต้องการตามธรรมชาติที่จำเป็น ซึ่งเป็นความสุขที่ยั่งยืน ได้แก่ ปัจจัยสี่ มิตรสหาย เสรีภาพ และความคิด
  2. ความสุขที่เกิดจากความต้องการตามธรรมชาติที่ไม่จำเป็น ได้แก่ ความต้องการด้านวัตถุ เช่น บ้าน รถ
  3. ความสุขที่เกิดจากความต้องการที่ไม่เป็นธรรมชาติและไม่จำเป็น ได้แก่ กิเลสที่เป็นนามธรรม เช่น อำนาจ ชื่อเสียง

ความสำเร็จเริ่มต้นจากการริเริ่ม สิ้นสุดที่การทำเสร็จ

ความสำเร็จที่เกิดจากการเริ่มทำ 4 ประเภท

  1. คิดและลงมือทำ – มองเห็นโอกาส เกิดแรงขับเคลื่อน ถูกที่ถูกเวลา มีโอกาสสำเร็จ ไม่ต้องพึ่งพาโชคชะตา
  2. คิดแต่ไม่ลงมือทำ – ลังเล ผลัดวันประกันพรุ่ง ปัจจัยไม่เอื้อต่อการลงมือทำ เช่น แรงงาน เงินทุน ไม่มีโอกาสสำเร็จ
  3. ไม่คิดแต่ลงมือทำ – ลองผิดลองถูก มีโอกาสสำเร็จ พึ่งพาโชคชะตามาก
  4. ไม่คิดและไม่ลงมือทำ – ไม่มีโอกาสสำเร็จ

สภาวะของการได้มาซึ่งความสุขและความสำเร็จ 3 ประเภท

  1. สภาวะสุขภาพดี ชีวิตสมดุล – มีความสงบนิ่ง ไม่ต้องใช้ความพยายามใดใด
  2. สภาวะชีวิตไม่สมดุล – ไม่อยู่นิ่ง ทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ใช้ความพยายามเกินกว่าปกติ
  3. สภาวะสุขภาพไม่ดี – หงุดหงิด หมดกำลังความพยายาม ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า

กฏธรรมชาติ

  1. กฏแห่งแการดึงดูด (Law of Attraction) – สิ่งที่้หมือนกันจะดึงดูดเข้าหากัน
  2. กฏแห่งการผลัก (Law of Polarity) – สิ่งที่ต่างกันจะผลักออกจากกัน
  3. กฏแห่งจังหวะ (Law of Rhythm) – ทุกสรรพสิ่งมีจังหวะของมัน เป็นไปอย่างที่มันเป็น การดำเนินไปตามจังหวะจะใช้พลังงานหรือแรงน้อย แต่หากดำเนินไม่ตามจังหวะก็ย่อมต้องใช้พลังานหรือแรงมาก
  4. กฏแห่งสัมพัทธ์ (Law of Relativity) – ทุกสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน เปรียบเทียบหรืออ้างอิงกันได้
  5. กฏแห่งเหตุและผล หรือกฏแห่งกรรม (Law of Cause and Effect) – สิ่งหนึ่งกระทบกระทั่งกับอีกสิ่งหนึ่ง ย่อมได้รับการกระทบกลับเช่นนั้น