ลายนิ้วมือ Dermatoglyphics และทฤษฎีพหุปัญญา

ลายนิ้วมือ (Fingerprint) คือ ลายเส้นนูนที่ปรากฏอยู่บนผิวหนังด้านหน้าของนิ้วมือ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละคน โดยเริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่อยู่ในช่วงอายุทารกประมาณ 3-4 เดือน ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา และจะไม่เปลี่ยนแปลงเลยตลอดชีวิต […]

วัคซีนของพระพุทธเจ้า

ข้อคิดที่พระพุทธเจ้าสอนเราไว้มีมากมาย แต่เพียง 12 ข้อที่ผมเลือกมานี้ ซึ่งช่วยสนับสนุนหรือตอบสนองทั้งความไม่แน่นอนของโลก (Uncertainty) วินัยการดำรงชีวิต (Discipline) และภูมิปัญญา (Wisdom) […]

การคลั่งของใหม่ – Neomania

โลกในอีก 50 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มว่าจะยังคงมีเทคโนโลยีที่อยู่กับเราในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา โนขณะที่เทคโนโลยีใหม่ๆบางอย่างจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยในอีกไม่กี่ปี เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการได้ต่อเนื่องกับสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่สูญพันธุ์ไปเร็วกว่าเวลาอันควร สิ่งได้ที่ก้าวผ่านศตวรรษแห่งนวัตกรรมจนรอดชีวิตมาได้ และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้องเหมาะสมก็มีแนวโน้มอยู่รอดต่อไปในอนาคต เราประเมินบทบาทของเทคโนโลยีที่มีมานานแล้วต่ำจนเกินไป […]

การไม่สามารถทำใจตัดทางเลือกทิ้งไปได้ – Inability to Close Doors

คนเราถูกครอบงำด้วยความคิดที่ว่าเราควรยิงปืนนัดเดียวให้ได้นกมากที่สุด อย่าตัดตัวเลือกทิ้งและเปิดรับทุกตัวเลือกที่เข้ามา แต่การทำเช่นนี้กลับไม่ได้ช่วยให้เราประสบความสำเร็จ สิ่งที่ควรทำคือเรียนรู้ที่จะปิดประตูเสียบ้าง การจะทำเช่นนี้ได้เราต้องสร้างกลยุทธ์ในการใช้ชีวิต ดดยตั้งใจว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอะไรบ้างแม้มันจะมีโอกาสซ่อนอยู่

ภาพลวงตาที่ว่าด้วยการใคร่ครวญความคิดของตัวเอง – Introspection Illusion

เราสามารถขุดคุ้ยลงไปในสมองของตัวเองเพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อของตนได้ แต่ไม่สามารถเข้าไปในสมองผู้อื่นได้ แถมเรายังมั่นใจว่าความเชื่อของตัวเองปราศจากความลำเอียงเพราะใคร่ครวญมาเป็นอย่างดี แต่สิ่งเหล่านี้จะแม่นยำและเที่ยงตรงซักแค่ไหน การใคร่ครวญเรื่องอื่นอาจทำได้ดีแต่การใคร่ครวญความคิดของตัวเองนั้นเชื่อถือไม่ได้ ส่วนใหญ่มักออกมาในรูปการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆในหัวเข้าด้วยกันเพียงเท่านั้น ซ้ำร้ายยังอาจเป็นการปรุงแต่งเรื่องราวขึ้นมาทำให้ยากต่อการมองเห็นความเป็นจริง การคาดหวังว่าจะพบความจริงหรือความถูกต้องด้วยในลักษณะนี้เรียกว่าภาพลวงตาที่ว่าด้วยการใคร่ครวญความคิดของตัวเอง ซึ่งอันตรายยิ่งกว่าการอ้างเหตุผลผิดๆที่ดูน่าเชื่อถือเสียอีก ความมั่นใจในความคิดของตนเองอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาเมื่อต้องพบกับความคิดที่ไม่ตรงกับเรา […]

การตัดสินจากความรู้สึกแวบแรก – Affect Heuristic

คนเราไม่สามารถนึกถึงข้อดีและข้อเสียทั้งหมดของสิ่งต่างๆได้ เพราะเราถูกตีกรอบด้วยความคิดแรกที่แวบเข้ามาในหัวและประสบการณ์อันน้อยนิด การคำนวณหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะเราแทบไม่มีข้อมูลให้นำมาใช้คำนวณเลย แถมสมองของมนุษย์ก็ไม่ได้ถูกสร้างมาให้คิดคำนวณอย่างถี่ถ้วนได้ละเอียดรวดเร็วขนาดนี้ ทั้งนี้ หนึ่งในทางลัดทางความคิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือการตัดสินจากความรู้สึกแวบแรก ซึ่งหมายถึงการใช้ความรู้สึกในชั่วขณะนั้นเป็นตัวตัดสิน ความรู้สึกชั่ววูบที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวนี้ ทำให้คุณไม่ได้ตัดสินสิ่งต่างๆด้วยการพิจารณาประโยชน์และโทษอย่างถี่ถ้วนตามความเป็นจริง […]

ความเข้าใจผิดของคนที่อยากเป็นอาสาสมัคร – Volunteer’s Folly

ความเข้าใจผิดของคนที่อยากเป็นอาสาสมัคร เป็นปรากฏการณ์ที่แพร่หลาย โดยภาพรวมแล้วมันทำให้เกิดการแย่งงานด้วยความที่คุณรู้สึกอยากเป็นคนดีมากกว่าปกติในชั่วขณะหนึ่ง ทั้งที่คุณสามารถทำสิ่งที่ถนัด สิ่งที่ทำอยู่แล้ว และมีสร้างมูลค่าสูงกว่าการเป็นอาสาสมัคร ทำให้เกิดการแย่งงานในพื้นที่ของผู้ที่เป็นอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ก่อน ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นการทำให้โลกใบนี้ดีขึ้น แรงจูงใจของบรรดาอาสาสมัครคือการสร้างสรรค์สังคม พบปะผู้คน […]

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ – Forer Effect

คนเรายอมรับข้อมูลที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ที่เรามองตัวเอง และเชื่อมโยงบุคลิกลักษณะของตัวเองเข้ากับคำอธิบายแบบครอบจักรวาล โดยกรองข้อมูลอื่นๆทิ้งไปอย่างไม่รู้ตัว แวดวงวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าปรากฏการณ์ฟอเรอร์ หรือบาร์นัม โดยเบื้องหลังที่ทำให้เราตกเป็นเหยื่อ สาเหตุแรกคือข้อความส่วนใหญ่นั้นกว้างมากจนใครๆก็สามารถนำไปเชื่อมโยงกับตนได้ สาเหตุที่สองคือคนเราชอบฟังคำชมอยู่แล้ว แม้จะไม่ตรงกับเราเลยก็ตาม สาเหตุที่สามคือข้อความเหล่านี้ใช้ประโยชน์จากอิทธิพลของสิ่งที่มีอยู่ […]

วิธีคิดแบบง่ายๆ – Simple Logic

การคิดทำให้คนเราเหน็ดเหนื่อยได้มากกว่าความรู้สึก เพราะการพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างมีเหตุผลต้องอาศัยความมุ่งมั่นมากกว่าลงมือทำไปตามสัญชาตญาณ พูดง่ายๆก็คือคนที่ทำตามสัญชาตญาณมักตั้งข้อสงสัยน้อยกว่า ยิ่งเราใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งจะใช้เหตุผลในการตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ดูเล้นลับซับซ้อนน้อยลงเท่านั้น

การเชื่อในผลลัพธ์จากข้อมูลขนาดเล็ก – Clustering Illusion

สมองของมนุษย์จะมองหาแบบแผนและกฏเกณฑ์ต่างๆอยู่เสมอ ถ้าหาไม่เจอมันก็สามารถสร้างขึ้นมาเอง ยิ่งสิ่งที่พบเจอคลุมเครือมากเท่าไร ยิ่งทำให้สมองสร้างแบบแผนและกฏเกณฑ์ได้ง่ายขึ้น คนเรามักไม่เชื่อว่าเหตุการณ์ที่ดูมีแบบแผนจะเกิดจาความบังเอิญ และถ้าเรามีแนวโน้มที่จะคิดว่าตัวเองเห็นบบแผนของสิ่งต่างๆ เราควรตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อน มันน่าจะเป็นค่เรื่องบังเอิญ แต่ถ้ามันดูสมเหตุสมผลเกินกว่าจะเป็นแค่บังเอิญ ก็อาจหาวิธีพิจารณาตามข้อมูลสถิติหรือหลักวิทยาศาสตร์