ตัวอย่างแนวทางเพื่อสร้างแผนบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Plan) ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
5.1 พิจารณาองค์ประกอบการจัดทำแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อกำหนดบทบาทองค์กร
การจัดทำแผนบริหารการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาสมรรถภาพขององค์กรสู่ความเป็นเลิศ จำเป็นต้องกำหนดขอบเขตการปฏิรูปองค์กรและแนวทางในการดำเนินการ เพื่อส่งเสริมยุทธศาสตร์การวางตำแหน่งและกำหนดบทบาทองค์กรอย่างเป็นระบบ อันประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการพิจารณาต่างๆ เช่น
1) การเป็นองค์กรที่เป็นธรรมาภิบาล (Governance)
2) การสร้างภาวะผู้นำ (Leadership) ที่มีธรรมาภิบาล
3) การกำหนดยุทธศาสตร์องค์กร (Strategy) ด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจที่มีรูปแบบในการดำเนินการ (Vision & Mission Operating Model)
4) โครงสร้างองค์กรที่กำหนดหน้าที่ ภาระงาน และอัตรากำลังที่เหมาะสม (Organization Structure: Job-Role-Team)
5) การสร้างกลไกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพทั้งการสรรหาและการมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากร
6) มีการพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งบุคลากร (HRM Mechanism : Acquire–Deploy–Develop–Retain)
7) จัดการอบรมพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (People Competencies Development) เพื่อส่งเสริมทักษะ ความรู้ ทัศนคติและคุณสมบัติ (Skill- Knowledge-Attitude-Attribute)
8) การนำเทคโนโลยี (Technology) มาใช้ในกระบวนการทำงาน (Operatonal Process)
9) เสริมสร้างค่านิยมองค์กร ความศรัทธาและบรรทัดฐาน (Value-Belief-Norms) ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร (Culture) เพื่อวางตำแหน่ง/บทบาทไปสู่เป้าประสงค์องค์กรที่เป็นเลิศ (Organizational Performance)
5.2 พิจารณาปัจจัยดำเนินการจัดทำแผนบริหารการเปลี่ยนแปลง
โดยหลักทฤษฎีของการจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กรภาครัฐให้ประสบผลสำเร็จนั้น มีปัจจัยตามลำดับขั้นตอนที่ต้องคำนึงอยู่หลายประการ ได้แก่ การตรวจสอบความต้องการและความจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง จัดทำแผนเพื่อการปรับเปลี่ยน สร้างการสนับสนุนภายในสำหรับการต่อต้านหรือลดแรงเสียดทาน สร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง สร้างการสนับสนุนจากภายนอก จัดหาทรัพยากรที่จำเป็น ริเริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยน และติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างทั่วถึง สำหรับการพิจารณาปัจจัยสำเร็จของการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนอีกแง่หนึ่ง จะต้องสร้างความเข้าใจและอธิบายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำให้เกิดเหตุผลและความรู้สึกร่วมต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างสถานการณ์เพื่อจำลองบทบาทแก่ทีมผู้นำการเปลี่ยนแปลง
5.3 ผลลัพธ์จากการดำเนินการ
จากองค์ประกอบและการวิเคราะห์ปัจจัยดำเนินการจัดทำแผนบริหารการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่ผลลัพธ์ใน 2 ส่วน ได้แก่ แผนการเปลี่ยนแปลง (Change Plan) และแผนดำเนินการเปลี่ยนแปลง (Change Action Plan) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมด้านต่างๆ อาทิเช่น
- การสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent Development)
- การพัฒนาภาวะผู้นำ (Leadership Development)
- การบริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management PLan) เพื่อเป็นกลไลที่สาคัญในการสร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)”
- การพัฒนาระบบงานเพื่อปรับปรุงไปสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
- การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management and Development)