ในแนวคิดเรื่อง Competency กล่าวเอาไว้ว่า Competency ของบุคคลใดๆ นั้นมักจะมีลักษณะอยู่ใน 4 ประเภทนี้คือ

  • เป็นกลุ่มคนของความสัมพันธ์ของ ความรู้ความเข้าใจ มุมมอง ทัศนคติ ทักษะ และพฤติกรรมส่วนตัว ที่มีผลกับการทำงาน
  • มีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ของงานที่ออกมา ในแง่ของประสิทธิภาพ
  • สามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ
  • สามารถพัฒนาขึ้นมาได้โดยการฝึกฝน ทั้งด้วยตนเองและมีผู้สอน

จากมุมมองเรื่อง Competency ที่กล่าวมา ส่วนหนึ่งทำให้เราเชื่อว่าความรู้ความสามารถถ่ายทอดและพัฒนาขึ้นมาได้ ซึ่งเราอาจจะสามารถอธิบายเป็นลำดับขั้นได้ 4 ขั้นดังนี้

  • Beginner หมายถึงบุคคลที่ยังไม่ทราบหรือไม่มีทักษะ หรือยังไม่สนใจที่จะเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ ซึ่ง Beginner จะสามารถยกระดับตนเองขึ้นมาเป็น Learner ได้ เมื่อได้รับความรู้จากการศึกษาหรือการฝึกฝน
  • Learner หมายถึงบุคคลที่ทราบ หรือมีทักษะในเรื่องนั้นๆอยู่ แต่ยังคงจะต้องเรียนรู้เพื่อให้ทราบและบรรลุถึงระดับที่ตั้งเอาไว้ โดยบุคคลในขั้นนี้จะต้องสะสมความรู้และประสบการณ์ ไม่ว่าจะจากการทำงานหรือการสอนงาน
  • Apprentice หมายถึงบุคคลที่สามารถไว้วางใจให้ทำงานได้ ในระดับนี้จะหมายความว่า บุคคลนั้นจะต้องสามารถวิเคราะห์ แยกแยะ และจัดการความรู้ได้ แต่ในระดับนี้ยังขาดในเรื่องของการต่อยอดความรู้ที่มี
  • Expert หมายถึงบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้เรื่องนั้นๆ เป็นอย่างดี โดยสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถต่อยอด ปรับเปลี่ยนมุมมอง เชื่อมต่อองค์ความรู้เหล่านั้นได้

ในแนวคิดเรื่อง Competency นั้นมีหลายแนวทาง อีกแนวทางหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ เพื่อให้เราสามารถที่จะต่อยอดขึ้นไปในการพัฒนาระดับความสามารถ คือ เรื่องของ Maturity Model ดังแสดงในตาราง