เพื่อส่งเสริมให้การจัดการความรู้ (KM) ขององค์กรให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงอาจกำหนดให้มีกิจกรรมและการดำเนินงานเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ หรือ Community of Practice: CoP จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการ KM กับการทำงานประจำ และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มการทำกิจกรรม CoP ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กระบวนการสร้างคุณค่า (Hard Topic) และ กระบวนการสนับสนุน (Soft Topic) และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
- จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มสมาชิกเพื่อจัดตั้งกลุ่ม CoP จากกระบวนการสร้างคุณค่า (Hard Topic) ที่มีความสำคัญในการปฏิบัติตามภารกิจขององค์กร ส่งผลโดยตรงกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มักเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรส่วนใหญ่ ซึ่งมีได้หลายกระบวนการแตกต่างกันไปตามภารกิจขององค์กร เช่น
- งานตรวจสอบภายใน
- งานพัฒนาระบบบริหาร
- งานกฎหมาย
- งานป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
- งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- งานประชาสัมพันธ์
- งานคลังและพัสดุ เป็นต้น
รวมถึงกลุ่ม CoP ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร เช่น
- เสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
- พัฒนาทักษะการนำเสนองานและการเป็นวิทยากร
- สนับสนุนการสร้างสุขภาพใจและสุขภาพกายเพื่อความสุขในการทำงาน เป็นต้น
- กำหนดจำนวนสมาชิกกลุ่ม (สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม) ประกอบด้วย
- ประธานกลุ่ม
- เลขานุการกลุ่ม
- ที่ปรึกษากลุ่ม
- สมาชิกกลุ่ม
- กลุ่ม CoP กำหนดหัวข้อที่จะดำเนินการ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน หรือพัฒนาทักษะด้านต่างๆ
- กำหนดวัตถุประสงค์-เหตุผล (Objective) และผลลัพธ์สำคัญ (Key Results) ของหัวข้อที่จะดำเนินการ
- กำหนดให้กลุ่ม CoP นำเสนอแผนงานกับคณะที่ปรึกษาและคณะทำงาน เพื่อพิจารณากิจกรรมและแผนงานของกลุ่ม CoP
- กลุ่ม CoP ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติ โดยกำหนดให้มีการรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรม
- กลุ่ม CoP นำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะที่ปรึกษา และคณะทำงาน KM เพื่อประเมินผลสำเร็จในการจัดกิจกรรม โดยทำการวัดผลลัพธ์จากข้อเสนอตามที่ได้เสนอมาเพื่อพิจารณามอบรางวัล
- กลุ่ม CoP และคณะที่ปรึกษาร่วมกันคัดเลือกความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม เพื่อนำไปผลิตสื่อการเรียนรู้และเผยแพร่ตามช่องทางที่เหมาะสม
ตัวอย่างหลักเกณฑ์การสะสมคะแนนของรางวัลประเภทรายบุคคล
หลักเกณฑ์การสะสมคะแนนรางวัลประเภทรายบุคคล |
|||
คะแนน |
• มีส่วนร่วมในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ |
20 คะแนน |
– สรุปความรู้จากกิจกรรม 2 เรื่องขึ้นไป = 5 คะแนน – จัดข้อมูลและทำ (ร่าง) แบบสื่อการเรียนรู้ = 10 คะแนน – ตรวจสอบความถูกต้องของสื่อการเรียนรู้ = 5 คะแนน |
• มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ถ่ายทอด และเผยแพร่ความรู้ |
20 คะแนน |
– เป็นผู้นำเสนอผลงาน CoP = 5 คะแนน – เป็นผู้นำเสนอผลงาน Focus Group = 5 คะแนน – เป็นวิทยากรใน KM Forum = 10 คะแนน |
|
• มีส่วนร่วมในการจัดหมวดหมู่ความรู้ และ/ หรือ การปรับปรุงการปฏิบัติงาน |
15 คะแนน |
– มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล = 5 คะแนน – มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ = 10 คะแนน |
|
• ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทาง |
15 คะแนน |
– เสนอหัวข้อกิจกรรม 1-3 เรื่อง = 2 คะแนน – เสนอหัวข้อกิจกรรม 4-6 เรื่อง = 5 คะแนน – เสนอหัวข้อกิจกรรม 7 เรื่องขึ้นไป = 10 คะแนน – เสนอวิธีการ/ แนวทางในการจัดการความรู้ = 5 คะแนน |
|
คะแนนเชิงปริมาณ |
• จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรม |
30 คะแนน |
– เข้าร่วม KM Forum ครั้งละ 2 คะแนน – เข้าร่วม KM Network ครั้งละ 2 คะแนน |
รวมคะแนนทั้งสิ้น |
100 คะแนน |