เลนส์สะท้อนและกรอบรองรับปัจจัยการดำเนินชีวิตอธิบายได้ว่า ปัจจัยของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันนั้น สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 7 มิติ ซึ่งชีวิตของเราทุกคนย่อมหนีไม่พ้นมิติเหล่านี้ ได้แก่ สังคม (Social) อาชีพการงาน (Career) องค์ความรู้ (Knowledge) ความมั่งคั่ง (Wealth) ตัวตน (Self) จิตวิญญาณ (Spirit) และสุขภาพ (Health) ผมเรียกมันว่า สถาปัตยกรรมชีวิตแบบบูรณาการ (Integrated Life Architecture) ดังแสดงในภาพที่ 4

life_factors_4

และหากพิจารณาลงในระดับลึกลงไป จะพบว่ามีปัจจัยหลัก (Factor) ในแต่ละมิติ ดังแสดงในภาพที่ 5 ดังนี้

life_factors_5
  • สังคม (Social) => ครอบครัว (Family) เพื่อน (Friend) ผู้ร่วมงาน (Workmate)
  • อาชีพการงาน (Career) => งานหลัก (Primary) งานรอง (Secondary)
  • องค์ความรู้ (Knowledge) => ไม่ปรากฏได้ชัด (Tacit) ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit)
  • ความมั่งคั่ง (Wealth) => การป้องกัน (Protection) การเกษียณ (Retirement) การลงทุน (Investment)
  • ตัวตน (Self) => สมรรถนะ (Competency) ประสบการณ์ (Experience) โชคชะตา (Destiny)
  • จิตวิญญาณ (Spirit)
  • สุขภาพ (Health) => กาย (Body) ใจ (Mind)

ในแต่ละปัจจัยหลักนั้นจะประกอบไปด้วยปัจจัยย่อย (Subfactor) ที่เป็นส่วนเฉพาะของแต่ละคน การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยก็มีได้ทั้งในระดับมิติ ปัจจัยหลัก และปัจจัยย่อย ตามความตื้น-ลึก ที่ต้องการวิเคราะห์พิจารณา ดังแสดงในภาพที่ 6-7

life_factors_6
life_factors_7

SlideShare : http://www.slideshare.net/lersmethasakul/integrated-life-architecture-draft