นักคิดที่ดีควรจะมีลักษณะประมาณนี้…
– เลือกตอบรับข้อมูลตามความเข้าใจของตนเอง
– ไม่ด่วนตัดสินใจในทันที
– ไม่ละเลยข้อมูลที่พิจารณาแล้วว่าสำคัญ แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน
– พิจารณาถึงทางเลือกที่แตกต่าง หรือโอกาสที่จะมีทางเลือกที่ดีกว่า
– ค้นหาข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องมาประกอบ ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก
– รวบรวมข้อมูลเก็บไว้ เผื่อจะได้นำมากลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
– พยายามแก้ปัญหา
– หาจุดตัดสินใจบนพื้นฐานความเข้าใจ ข้อมูลของตน
– กล้าเสี่ยง เลือกที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด
– มีจินตนาการและความยืดหยุ่นต่อการคิด วิเคราะห์
– พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวอย่างเป็นเหตุเป็นผล
– นำความรู้ที่ตกผลึก กลับมาใช้ในสถานการณ์อื่นๆได้
– เข้าใจวิธีการเรียนรู้ กระบวนการคิด การทำงานที่เหมาะสมกับตนเอง
– ถ่ายทอดและต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง

นักคิดที่ไม่ดีมักจะมีลักษณะประมาณนี้…
– เลือกที่จะจำข้อมูลมากกว่าการพยายามทำความเข้าใจ
– รีบตัดสินใจโดยปราศจากข้อมูลที่เพียงพอ แม้ว่าจะมีประสบการณ์อยู่บ้าง
– ละเลยข้อมูลที่ไม่มีความชัดเจน มองหาแต่เพียงข้อมูลเชิงประจักษ์
– พิจารณาแต่แนวทางที่เคยพบเจอหรือพึงพอใจกับความพยายามครั้งแรก
– ค้นหาข้อมูลเท่าที่จำเป็นหรือเท่าที่จะนำมาใช้ในขณะนั้น
– ไม่มีการเก็บข้อมูล คิดใหม่หาใหม่อยู่เป็นประจำ
– มักถูกครอบงำด้วยปัญหา
– มักตัดสินใจจากการถูกโน้มน้าวหรือข้อมูลที่ได้มาจากผู้อื่น
– กลัวความผิดพลาด ชอบความคิดแบบเบ็ดเสร็จ สำเร็จรูป
– วิเคราะห์แต่เพียงในกรอบความเข้าใจที่มี หรือกรอบเดิมที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นบรรทัดฐาน
– มองข้อมูลแบบแยกส่วน ขาดการเชื่อมโยง
– ไม่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์อื่นได้
– ไม่พบว่ามีรูปแบบการเรียนรู้ กระบวนการคิดที่เป็นแบบเฉพาะเหมาะสมกับตน
– คิดเอง ใช้เอง รู้เท่าที่รู้ได้ ไม่สามารถอธิบายถ่ายทอดได้อย่างเป็นรูปธรรม