การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมกระบวนการควบคุม สร้างสรรค์ เผยแพร่และการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์  หนึงในวัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้ก็เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมความรู้ ตลอดจนการพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองความต้องการและยกระดับศักยภาพทางธุรกิจ อันประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ คลังความรู้ (Knowledge repositories) การเข้าถึงความรู้ (knowledge access) การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมความรู้ (Enhancing knowledge environment) และการจัดการความรู้ (Knowledge management) สำหรับการการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพนั้น นอกจากความครบถ้วนขององค์ประกอบข้างต้น ยังต้องผลักดันให้เกิดผลสำเร็จของปัจจัย อันได้แก่ การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การสื่อสารและถ่ายทอดสารสนเทศที่ดี การประเมินความต้องการความรู้ใหม่และการนำไปประยุกต์ใช้ นโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่เกื้อหนุนต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้องค์ความรู้ การยอมรับแนวทาง (Solution) การบริหารจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ในแง่ของการนำเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนปัจจัยสำเร็จเหล่านี้ สามารถสรุปได้ตามกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) ดังแสดงในตาราง

กระบวนการจัดการความรู้ (KM Process)

เครื่องมือ (ICT Tools)

การสร้างความรู้ (Knowledge generation)

–    แอพลิเคชั่นเพื่อการระดมสมอง (Brainstorming application)

–    ระบบอิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการทำงาน (Electronic support systems)

–    การประชุมทางไกล (Video conferencing)

–    แผงระดมความคิด (Discussion boards)

องค์กรแห่งความรู้  (Knowledge organization)

–    อิเล็กทรอนิกส์สนับสนุนการทำงาน (Electronic support systems)

–    เทคโนโลยีการเผยแพร่ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic publishing technology)

–    การจัดการเอกสาร (Document management)

–    การสืบค้นผ่านเว็บ (Web search engines)

–    เทคโนโลยีช่วยเหลือการทำงาน (Help-desk technologies)

แหล่งจัดเก็บความรู้ (Knowledge storage)

–    ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert systems)

–    เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database technologies)

–    เครื่องมือประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Web-mapping tools)

–    เทคโนโลยีการเผยแพร่ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic publishing technology)

การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) –

Tacit to tacit

 

–    กระดานข่าวสาร (Bulletin boards)

–    การประชุมทางไกล (Video conferencing)

–    การระดมสมอง (Brainstorming)

การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) –

Tacit to explicit

–    เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database technologies)

–    คลังข้อมูล (Data warehouse)

–    การทำเหมืองข้อมูล (Data mining)

การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) –

Explicit to explicit

–    ระบบจัดการงานเอกสาร (Document management systems)

–    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม (Group decision-support systems)

–    ระบบสนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่ม (Groupware / computer-supported systems)

การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) –

Explicit to tacit

–    เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database technologies)

–    คลังข้อมูล (Data warehousing)

–    การสืบค้นผ่านเว็บ (Web search engines)

–    การทำเหมืองข้อมูล (Data mining)

การใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ (Knowledge utilization)

–    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision-support systems)

–    ซอฟแวร์จำลองสถานการณ์ (Simulation software)

–    เครือข่ายระบบประสาทเทียม (Artificial neural networks)

–    ระบบสนับสนุนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Performance-support systems)