Knowledge Management (KM) หรือ การบริหารองค์ความรู้ หมายถึง กระบวนการในการแปลงองค์ความรู้สู่คุณค่าทางธุรกิจ (Business value) อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมการสร้าง/ได้มา (Create/Acquire) การสังเคราะห์ (Synthesize) การแบ่งปัน (Share) การประยุกต์ใช้ (Apply) เพื่อสนับสนุนการสร้างผลการปฏิบัติงาน/ผลการดำเนินธุรกิจที่คาดหวัง ตลอดจนต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่มีคุณค่าต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร
องค์ความรู้จะก่อให้เกิดคุณค่า เมื่อผ่านการสังเคราะห์และจัดอยู่ในรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการในการใช้งาน และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ตามที่คาดหวังได้ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแนวทาง/วิธีการปฏิบัติ บทวิเคราะห์ บทเรียน/ประสบการณ์ที่แบ่งปัน การฝึกอบรม เป็นต้น
Knowledge Management (KM) ถูกนำมาใช้เป็นกลไกในการพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคคลากร หลายองค์กรใช้ประโยชน์จาก KM ดังนี้
- การพัฒนาศักยภาพของพนักงานหรือเมื่อมีการโยกย้ายเข้ารับผิดชอบตำแน่งหใหม่ เพื่อลดระยะเวลาในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะของพนักงานที่เข้าปฏิบัติงาน หรือเพื่อลด Time to Proficiency Level
- การเก็บรักษาองค์ความรู้ที่สำคัญไว้กับองค์กร เพื่อลดความเสี่ยงในการยึดติดกับตัวบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่มีผู้รู้เพียงคนเดียวหรือพนักงานใกล้เกษียณอายุการทำงาน
- การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบุคคลากรในการลดความผิดพลาด ลดเวลาในการทำงาน
- การสนับสนุนให้นวัตกรรม (Innovation) หรือโครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆ ไปได้เร็วขึ้น ด้วยการที่สามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ซึ่งหากไม่มีการจัดเก็บหรือไม่รู้ว่ามีการคิดบางอย่างอยู่ก่อนแล้ว อาจต้องเริ่มใหม่แทนที่จะเดินต่อไปได้
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม Knowledge Contents หรือ องค์ความรู้ที่ถูกจัดเก็บและบริหารจัดการนั้น ถือว่าเป็น Asset หรือสินทรัพย์ที่มีค่าขององค์กรอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อ KM คือกระบวนในการบริหารจัดการองค์ความรู้ นั้นหมายถึงว่าต้องมีการดูแลและ Update เพื่อให้องค์ความรู้ที่อยู่ในระบบเป็นองค์ความรู้ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน มีความถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้งานของพนักงาน
การบริหารองค์ความรู้ (Knowledge Management: KM) เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่จะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติตามภารกิจ อีกทั้งยังเป็นกลไลที่สำคัญในการสร้าง “องค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Organization” ที่สนับสนุนให้บุคลากรได้เรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้
องค์ความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
Explicit Knowledge คือ องค์ความรู้ที่ได้ถูกถ่ายทอดออกมาแล้วหรือเป็นสิ่งเป็นผลขององค์ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของกระบวนการในการปฏิบัติต่างๆ ที่ถูกเรียบเรียงไว้ในรูปของเอกสาร หรือ file ที่จะสามารถถ่ายทอดต่อไปได้ เช่น Reference Material คู่มือมาตรฐานหรือการปกิบัติต่างๆ เป็นต้น
Tacit Knowledge คือ องค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลที่ถูกสั่งสมจากประสบการณ์และความรู้ที่ยังไม่ได้ถูกเก็บ เรียบเรียง หรือถ่ายทอดอย่างเป็นระบบหรือเป็นรูปธรรม
ทุกองค์กรมีองค์ความรู้ทั้งสองรูปแบบทั้งสิ้น และสิ่งที่เป็น Explicit Knowledge ก็อาจไม่ได้ถูกมองว่าเป็นองค์ความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Implicit Knowledge หากไม่ได้ถูกมองก็อาจสูญหายไปกับพนักงานที่ไม่อาจรักษาไว้กับองค์กรได้ตลอดไปซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงประเภทหนึ่ง
ดังนั้นในหลายองค์กรเริ่มที่จะตระหนักถึง Implicit Knowledge เมื่อมีเจ้าหน้าที่ใกล้เกษียณ หรือมีการลาออกของเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญบางอย่างที่สำคัญต่อองค์กร ดังนั้นการที่องค์กรมี KM อย่างเป็นระบบและมีการพิจารณากำหนดองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็น มีการจัดเก็บอยางต่อเนื่อง ปัญหาในการสูญเสียองค์ความรู้ไปกับบุคลากรก็ลดลงไป อีกทั้งยังสามารถถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ด้วย