ในการรวบรวมองค์ความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบ จะนำการจัดหมวดหมู่ความรู้ (Knowledge Taxonomy) มาเป็นเครื่องมือในกระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบโดยเฉพาะความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารประเภทต่างๆ การจัดหมวดหมู่ความรู้เป็นการกำหนดโครงสร้างความรู้อย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งชนิดและประเภทของความรู้ เพื่อให้สามารถสืบค้น เรียกคืนและใช้งานได้ง่าย
แนวทางในการสร้าง Taxonomy ที่ดีนั้นควรจะต้องมีขั้นตอนการดำเนินงานอันประกอบด้วย
- ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
- การกำหนดขอบเขตของการจัดหมวดหมู่ความรู้
- การรวบรวมคำศัพท์กว้างๆ ที่อธิบายเนื้อหา เพื่อให้บุคลากรมีความเข้าใจตรงกัน
- สร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บข้อมูลหน้าเว็บเพจ
- ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจในฐานข้อมูล เช่น คำสืบค้น คำสำคัญ ผู้รับผิดชอบ หน่วยงานที่ใช้งาน
- การกำหนดคำสืบค้นเป็นลักษณะของ Meta Data และคำจำกัดความโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ใช้คำศัพท์
- ใช้หลักการ Text mining ทำการสร้างตัวแบบการสืบค้น เพื่อค้นหาความสำคัญของเนื้อหาที่อยู่ภายในฐานข้อมูล
- จัดสร้าง Taxonomy ของ KM สำหรับกระทรวง ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของคำสืบค้นสำหรับเว็บไซต์ KM
- ทำการทดสอบตัวแบบ โดยการนำข้อมูลเว็บเพจใหม่เข้าไป และทำการทดลองสืบค้นตามคำสำคัญ
- นำ Taxonomy มาไว้สำหรับการสืบค้นใน KM Website
- สนับสนุนให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องทางต่างๆ อาทิ บอร์ดนิทรรศการเผยแพร่การพัฒนาระบบองค์ความรู้ในองค์กร หรืออีเมลล์แผ่นพับประชาสัมพันธ์การจัดหมวดหมู่ใหม่ และวิธีการใช้งาน
- การฝึกอบรมการใช้ความรู้ที่มีการจัดหมวดหมู่อย่างเป็นระบบจะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ความรู้สามารถเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านทางKM Website