Lean Life คือ ระบบ กระบวนการ วิถีทาง หรืออะไรก็ตามที่ส่งเสริมและผลักดันให้คนๆหนึ่งมีชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการมีสุขภาพดี การมีความมั่นใจ และทำให้ประสบความสำเร็จ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดความสูญเสียหรือสูญเปล่าในด้านต่างๆของการดำเนินชีวิต ซึ่งความสูญเสียบางอย่างอาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็อาจจะส่งผลกระทบอย่างมากทั้งทางตรง ทางอ้อม ระยะสั้น หรือระยะยาว
ความสูญเปล่าที่ว่านี้ จะเป็นอะไรก็ได้ที่เรากังวลว่าจะใช่ เราอาจจะเริ่มต้นด้วยการสังเกตตัวเราว่ามีอะไรที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อสุขภาพ ความมั่งคั่ง การทำงาน และความเชื่อมั่นในตัวเอง ทั้งหมดนี้จะบั่นทอนประสิทธิภาพ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา รวมทั้งสร้างขีดจำกัดความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว อาทิเช่น ความไม่ซือสัตย์ นิสัยขี้กลัวขี้กังวล ต่อมา ควรที่เริ่มพิจารณาถึงความกังวลที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเรา เช่น รูปร่างหน้าตา ปัญหาสุขภาพกาย ปัญหาที่ทำงาน เศรษฐกิจการเงิน เป็นต้น
เจฟฟรีย์ ไลเคอร์ (Jeffrey Liker) ได้นำเสนอแนวคิดแบบลีนเพื่อขจัดความสูญเปล่า 8 ประการ ไว้ในหนังสือวิถีแห่งโตโยต้า (The Toyota way) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต ได้ดังนี้
- Defect (งานที่่ตัองแก้ไข) => กิจกรรมในชีวิตที่ควรปรับปรุงแก้ไข
- Overproduction (การผลิตสินค้าเกินความต้องการ) => การสร้างกิจกรรมหรือสิ่งต่างๆมากเกินความจำเป็น
- Waiting (การรอคอย) => การผลัดวันประกันพรุ่ง
- Non-utilized talent (ความคิดของทีมงานไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์) => ความคิด ความสามารถในตัวเราที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
- Transportation (การขนย้ายบ่อย) => การขนย้ายสิ่งของหรือทรัพย์สินบ่อยครั้ง
- Inventory (สินค้าคงคลังมากเกินไป) => การถือครองสิ่งของหรือทรัพย์สินที่มากจนเกินไป
- Motion (การเคลื่อนไหวทีไม่จำเป็น) => กิจกรรมที่เป็นการเคลื่อนที่ในชีวิตประจำวันที่เกินความจำเป็น
- Excess Processing (ขั้นตอนซับซ้อนไม่ถูกต้อง) => การมีกิจกรรมหรือมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ซับซ้อนจนเกิดขั้นตอนมากมาย
ความสูญเปล่ามีวิธีการดำเนินการด้วยการกำจัด (Eliminate) การควบรวม (Combine) การจัดเรียง (Rearrange) และการทำให้ง่ายขึ้น (Simplify)