การจัดการชีวิต คืออะไร อันนี้เข้าใจไม่ยาก หากตอบด้วยสามัญสำนึกก็ไม่แคล้วหนีจากการบริหารจัดการกิจกรรมของการดำเนินชีวิตให้ดี มีประสิทธิภาพ ไปมากสักเท่าไร หากตอบเชิงวิชาการ ยิ่งไม่ต้องสนใจให้ดูเอิกเริกจนเกินไป เอาง่ายง่ายก็คือ การจัดการชีวิตก็คือการจัดการชีวิต ดูแลชีวิตให้ดีให้สมกับจริตของแต่ละท่านก็แล้วกัน ทีนี้ ถ้าจะทำให้ชัดให้เป็นระบบเสียหน่อย ผมขอแนะนำ 10D หรือเด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน หนึ่งนับถือศาสนา … เฮ่ย ไม่ใช่ … 10D ที่ว่านี้สามารถแบ่งออกเป็น สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ 4D กับกระบวนการ 6D
สิ่งที่ควรทำเมื่อทำแล้วจึงถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ชีวิตของเรา (Did) สิ่งที่ควรทำแต่ยังไม่ทำก็กลายมาเป็นบันทึกในแผนงานที่มีโอกาสจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์หากทำสำเร็จเมื่อเวลานั้นมาถึง (Done) รวมไปถึงสิ่งที่ควรทำในขณะปัจจุบันที่รับรู้ถึงลมหายใจในตอนนี้ (Do) ทั้งสาม D มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเวลาเพราะได้เกิดกรรมในเวลาของชีวิต แต่สิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์เพราะเราเลือกที่จะไม่ทำให้เกิดการบันทึกลงในปนะวัติศาสตร์หรือเวลาชีวิตของเราก็คือ สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don’t) นั่นเอง
ในส่วนของกระบวนการนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ มีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
Desire – เริ่มต้นด้วยการรู้จักและทำความเข้าใจตนเอง ทั้งด้านความต้องการที่มาจากแรงปรารถนา รวมถึงธรรมชาติของตน
Define – ระบุมห้ชัดถึงสิ่งที่ต้องการเป็น เป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง หากยังเป็นความฝันอยู่ ให้ย้อนกลับไปขั้นตอนก่อนหน้าเพื่อทำความเข้าใจแล้วแปลงอกมาให้อยู่ในรูปเป้าหมายให้จงได้
Design – วิเคราะห์และออกแบบเส้นทางเดินเพื่อไปมห้ถึงจุดหมาย
Develop – สรรสร้างและพัฒนาเส้นทาง วิธีการ ช่องทาง หรืออะไรก็ตามที่ให้เกิดความพร้อมรองรับการลงมือปฏิบัติ
Drive – ลงมือทำ ยังไม่พอ ต้องขับเคลื่อนสิ่งที่ทำด้วยแรงบันดาลใจ วินัย และอุตสาหะ อย่างชาญฉลาด
Die – มีเกิดมีดับ กรรมใดที่เริ่ม ก็ย่อมถึงวาระสิ้นสุดกรรม แต่จะจบให้สวยได้อย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอน
ที่กล่าวมานี้เป็นการกระทำจากภายในหรือตัวเราเองเป็นหลัก จะดีที่สุดควรจะมี D ตัวที่ 11 ได้แก่ ข้อมูลสภาพแวดล้อมจากภายนอก (Data) เข้ามาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม