การมีชีวิตนั้น จะว่ายากหรือง่ายก็ขึ้นอยุ๋กับทัศนคติของเจ้าของชีวิตผู้นั้น แต่การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ ถือว่าไม่ง่ายเลย แม้ว่าคุณภาพที่ว่านี้จะขึ้นอยู่กับมาตรฐานของแต่ละบุคคล ผู้เขียนได้ตีความคำว่า “คุณภาพ” ให้กับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการดำรงชีพในสังคมที่ไม่อาจจะอยู่เพียงลำพังได้ ยังไงเราก็หนีไม่พ้นสภาวะการแข่งขัน แม้จะไม่แข่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ถูกเปรียบเทียบจากผู้อื่นหรือกฏกติการสังคมที่อาจจะไม่มีพื้นที่ยืนให้กับทุกคนในระดับเดียวกัน ในทุกๆเรื่องได้ จึงได้เสนอแนวคิดที่ว่าด้วยคุณภาพของการดำเนินชีวิตไว้ 2 มิติ ได้แก่ มิติแห่งการอยู่อย่างผู้ชนะ และมิติแห่งการอยู่อย่างผู้มีความสุข

1. มิติแห่งการอยู่อย่างผู้ชนะ ประกอบได้ด้วย

1.1) กลยุทธ์ (Strategy) – การตั้งเป้าหมายให้กับการดำรงชีวิต พร้อมกับแนวทางที่จะดำเนินไปสู่จุดหมาย

1.2) เทคโนโลยี (Technology) – เครื่องมือที่นับวันจะมีความสำคัญและกลายเป็นส่วนเติมเต็มของชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ เทคโนโลยีสามารถปรากฏได้ในหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็น่ส่วนที่ตนครอบครองหรือเราสามารถควบคุมได้ กับสิ่งที่เป็นส่วนของสภาพแวดล้อมที่เราไม่อาจควบคุมได้

1.3) ความรู้ (Knowledge) – เราเข้าสู่ยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยข่าวสาร สารสนเทศ การกลั่นกรองและแปลงสภาพข้อมูลให้กลายเป็นองค์ความรู้เพื่อเสริมศักยภาพ จึงเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายในสนามแข่งขันของยุคของสงครามข้อมูล

1.4) เงิน (Money) – เป็นที่ประจักษ์ว่าเงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง เพียงแค่เกือบทุกอย่างเท่านั้นที่เงินซื้อได้ และยังคงมีอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้เสถียรภาพที่ลดลงและเต็มไปด้วยปัจจัยเสี่ยง

2. มิติแห่งการอยู่อย่างผู้มีความสุข ประกอบไปด้วย

2.1) ความเป็นเจ้าของ (Ownership) – กิเลสสร้างเครื่องมือที่จับต้องไม่ได้ขึ้นมาชนิดหนึ่งเพื่อบังตามนุษย์ ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของทำให้พลังความต้องการของคนเราไม่มีที่สิ้นสุด เสมือนหนึ่งเป็น passive income หรืออธิบายได้ว่าเป็นกลไกอัตโนมัติที่ฝังในใจมนุษย์ต้องการมนุษย์เพื่อผลิตความต้องการ โดยที่คุณชายกิเลสไม่ต้องลงทุนลงแรงเพิ่มเติม

2.2) ความเป็นมิตร (Friendship) – มิตรกับศัตรูเป็นของคู่กัน อาจอยู่ที่เดียวกันหรือต่างที่กัน ในสภาวะปกติแล้ว ลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์กับมิตรที่มีทำให้เกิดความสุขจะมีลักษณะตรงกันข้ามกับการมีให้กับศัตรู

2.3) ความดี (Goodness) – จัดเป็นเป็นเครื่องวัดมาตรฐานสากลที่ทุกคนแยกแยะว่าอะไรที่จัดว่าเป็นสิ่งที่ดี อะไรเป็นสิ่งไม่ดี ความดีที่จริงแท้จะไม่มีนิยามและรูปแบบที่แปรเปลี่ยนตามวาระ เวลา สถานที่