ขงจื้อ กล่าวว่า ชาวชนแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่
สามานยชน หมายถึง คนไร้ปณิธาน ไม่รู้กาลเทศะ ไม่รู้จัดเลือก นายดีเป็นที่พึ่ง ไม่สามารถก่อร่างสร้างตัวด้วยตนเอง เห็นแก่ส่วนย่อยไม่เห็นส่วนทั้งหมด ไม่รู้การควรและมิควร จิตใจลังเล ไร้ความคิด
ปัญญาชน หมายถึง คนมีความคิด มีโครงการ แม้ไม่อาจขุดคุ้ยความสามารถของตนมาใช้อย่างเต็มที่ แต่ก็พอสร้างชื่อเสียงได้บ้าง แม้ไม่อาจยึดมั่นในคุณธรรมอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ก็สร้างคุณงามความดีได้บ้าง ดังนั้น ถึงสติปัญญาจะไม่สูงส่ง แต่สิ่งที่รู้ก็รู้จริง ถึงจะพูดน้อย แต่ก็มีสาระ ถึงจะทำงานไม่มาก แต่ก็ทำอย่างมีจุดหมาย เมื่อเหตุผลชัดเจน พูดจามีสาระ ย่อมรู้ผลแห่งการกระทำ นิสัย ความคิด คำพุด และการกระทำจึงมั่นคงไม่สั่นคลอน ถึงร่ำรวยสูงศักดิ์ ไม่กลับกลาย ถึงยากแค้นขัดสน ไม่ตกต่ำ
วิญญูชน หมายถึง คนมีสัจจะ จิตใจบริสุทธิ์ ไม่แค้นไม่ริษยา ผดุงคุณธรรมแต่ไม่ประโคมโอ่อวด รู้เหตุรู้ผล นอบน้อมถ่อมตน พูดจริงทำจริง และมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง
อัจฉริยชน หมายถึง ผู้ยึดมั่นในธรรม ไม่หลบเลี่ยงกฏหมายและขนบจารีต ดำเนินงานตามกฎเกณฑ์ มีวาจาเที่ยงแท้เที่ยงแท้เป็นที่เอาอย่างของชาวชนทั่วหล้า มีมรรคธรรมกลมกลืนพอสร้างสำนึกแก่คนทั่วไป
ที่มา : หนังสือ ฉางต่วนจิง, บรรพที่ 1 การปกครอง, บทที่ 3 การจำแนกบุคลากร