แนวทางในการปรับปรุงกระบวนการโดยทั่วไป

  • การแลกเปลี่ยนแนวทางความสำเร็จทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนวัตกรรม
  • การวิเคราะห์กระบวนการ (เช่น การจัดทำผังกระบวนการ การทดลองเพื่อหาจุดเหมาะสมที่สุดของกระบวนการ การป้องกันความผิดพลาด)
  • การวิจัยและพัฒนาในด้านกระบวนการ
  • การจัดระดับเทียบเคียง (Benchmarking)
  • การใช้เทคโนโลยีที่เป็นทางเลือกอื่น
  • การใช้สารสนเทศจากผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกระบวนการต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

ขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการ

  1. การวางแผนดำเนินกิจกรรม
    ต้องครอบคลุมการวิเคราะห์ การดำเนินการ การติดตาม และการปรับปรุง
  2. การกำหนดหัวข้อการปรับปรุง
    สอดคล้องกับพันธกิจองค์กร บทบาทและภาระหน้าที่ และมีปัญหาหรือเหตุให้ต้องปรับปรุง
  3. การศึกษาสภาพปัจุบัน (As-Is)
    ทราบกระบวนการที่สร้างคุณค่า กระบวนการสนับสนุน กระบวนการเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นจนจบ
  4. การวิเคราะห์หาสาเหตุและปรับปรุง
    ตัวอย่างกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง
    • ขจัดความสูญเปล่า
    • ปรับปรุงการไหลเวียนของงาน
    • ปรับระดับให้เหมาะสม
    • เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
    • สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้กับผู้รับบริการ
    • บริหารเวลา
    • ลดความแปรปรวน
    • ป้องกันความผิดพลั้ง
    • มุ่งเน้นที่ผลผลิตหรือบริการ
  5. การกำหนดมาตรฐานการทำงาน
    • กระบวนการทำงาน (Procedure Manual)
    • คำอธิบายขั้นตอน (Work Instruction)
    • แบบฟอร์มที่ใช้ในกระบวนการทำงาน
    • การอบรมให้ความรู้
  6. การติดตามและปรับปรุง
  • รับเรื่องร้องเรียน
  • ประเมินความพึงพอใจ
  • รวบรวมข้อมูลการให้บริการ
  • การแก้ไขและป้องกัน
    • คณะกรรมการติดตามและประเมินผล
    • ผู้รับผิดชอบในแต่ละประเด็น
    • มาตรการเพิ่มเติม