จากความหมายข้างต้นของ Shadow testing ผมได้ออกแบบลำดับขั้นการทดสอบระบบเป็น 2 แบบอย่างง่ายตามระดับความเข้มข้นของ shadow testing หรือ “เหมือนหน้างานจริง” มากแค่ไหน ได้แก่ การจำลองในห้องทดสอบ (Room simulation) กับ จำลองการทดสอบที่หน้างานจริง (Floor simulation) ซึ่งแต่ละแบบจะสามารถสร้างองค์ประกอบทางธุรกิจให้เหมือนกับการทำงานเพื่อรองรับลูกค้าจริงได้ทั้งคู่ เพียงแต่แบบ Floor จะเหมือนกว่าแบบ Room เพราะทำการทดสอบระบบที่หน้างานจริงๆจังๆ นั่นเอง ในอีกด้านหนึ่ง ปัจจัยที่จะช่วยพิจารณาได้ว่าการระบบจะได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานมากน้อยเพียงใด (ซึ่งก็แปรผกผันกับความเสี่ยงที่จะได้นำระบบนี้มาใช้งานจริง) หรือเรียกได้ว่าเป็นระดับความเชื่อมั่น (Level of confidence) สามารถดูได้จากปริมาณ “ของจริง” ที่เป็นส่วนประกอบในการทดสอบ ได้แก่ สภาพแวดล้อม ข้อมูล ผู้มีส่วนได้เสียและ/หรือผุ้ใช้ระบบ ความครอบคลุมของจุดทำงานในช่วงทดสอบระบบเทียบกับจุดทำงานจริงที่ระบบจะมาติดตั้งใช้จริงทั้งหมด