สถานการณ์ (situation) หรือปัญหา (problem) ที่เกิดขึ้นจะมีสาเหตุ (cause) และผล (effect) เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยสาเหตุและผลใดๆ จะมีความเชื่อมโยง (linkage) จากสาเหตุหนึ่งไปสู่ผลลัพธ์หนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งการเชือมโยงนี้ออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. การเชื่อมโยงในด้านบวก (Positive link) หรือความสัมพันธ์ที่เสริมกัน – เป็นกรณีที่ผลเพิ่มขึ้น เมื่อมีสาเหตุเพิ่มขึ้น หรือ ผลลดลงเมื่อสาเหตุลดลง กล่าวคือ ทั้งสองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ราคาขาย->รายได้, ราคาวัตถุดิบ->ต้นทุน, เงินเดือนที่เสนอ->ปริมาณผู้สมัครงาน, จำนวนโฆษณา->จำนวนลูกค้า เป็นต้น
2. การเชื่อมโยงในด้านลบ (Negative link) หรือความสัมพันธ์ที่หักล้างกัน – เป็นกรณีที่ผลเพิ่มขึ้น เมื่อมีสาเหตุลดลง หรือ ผลลดลงเมื่อสาเหตุเิ่มขึ้น กล่าวคือ ทั้งสองเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่น ราคาขาย->ความต้องการสินค้า, ต้นทุน->กำไร, ความผิดพลาด->ความเชื่อมั่น เป็นต้น
ในระบบหนึ่งๆ หากมีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล หรือความเชื่อมโยงที่มากกว่าหนึ่ง (multiple causal links) ที่นำมาประกอบกันก็จะกลายเป็น “Causal Loop” และหากมีการเชื่อมต่อวนจนกลายเป็นลูปปิดกลับมาจุดเดิม ก็จะเรียกว่า “Feedback Loop” ซึ่งเป็นโครงสร้างของพฤติกรรมหรือปัญหาในทางธุรกิจที่จะใช้วิเคราะห์กันต่อไป
ตัวอย่างเช่น การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนตลาด->สินค้าน่าดึงดูดต่อการซื้อมากขึ้น->ลูกค้าซื้อเพิ่มขึ้น->การเพิ่มขึ้นของสัดส่วนตลาด
หรือ ยอดขายลดลง->เพิ่มโปรโมชั่นใหม่->สินค้าน่าดึงดูดมากขึ้น->ยอดขายเพิ่มขึ้น เป็นต้น
หากพิจารณาถึง feedback loop จะพบว่ามี 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ลูปที่เป็นบวก หรือการเสริมสร้าง (Positive or reinforcing) – จะมีลักษณะผลักดันการเปลี่ยนแปลงในระบบ เช่น
2. ลูปที่เป็นลบ หรือการสมดุล (Negative or balancing) – จะมีลักษณะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงของระบบ เช่น
การที่จะระบุว่า feedback loop ของปัญหาทางธุรกิจนั้นเป็นรูปแบบ Reinforcing (R) หรือ Balancing (B) มีแนวทางที่ทำได้สองวิธี ได้แก่ การดูที่ผลตอบรับของการปลี่ยนแปลงว่าเป็นการส่งเสริมหรือหักล้างกัน และการนับจำนวนประเภทของการเชื่อมโยง (link) ว่าแบบไหนมีมากกว่ากัน