การศึกษาทําความเขาใจในเรื่องของแนวคิดเชิงระบบ และการวิเคราะห์ปัญหา มองสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างเป็นระบบ ทําให้เราเข้าใจในรายละเอียดและความเกี่ยวพันของปัญหากับสิ่งรอบข้างได้อย่างถ่องแท้ สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบ และหลีกเลี่ยงผลกระทบหรือลดปัญหาที่ไม่ต้องการได้ โดยระบบทุกระบบจะประกอบไปด้วย

  • วัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อกำหนดทิศทางหรือแรงผลักดัน อาจจะมีมากกว่าหนึ่งวัตถุประสงค์ก็ได้
  • หน่วยย่อย หรือ ส่วนประกอบ (Element) ของระบบที่มารวมกลุ่มกัน
  • สิ่งนําเข้า (Input) มักจะเป็นข้อมูล วัตถุดิบ หรือสิ่งที่รวบรวมจากภายนอกที่จะถูกนําเข้าสู่ระบบเพื่อนําไปผ่านขั้นตอนต่างๆให้เกิดผลลัพธ์
  • กระบวนการ (Process) ระเบียบวิธีการทํางานอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อสร้างผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์
  • ผลลัพธ์ (Output) ผลผลิตที่ได้จากการนําสิ่งนําเข้าไปผ่านกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง
  • การควบคุมและผลป้อนกลับ (Control and Feedback) เป็นตัวชี้วัดว่าระบบทํางานได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เป็นส่วนสําคัญในการควบคุมและแก้ไขพัฒนาระบบให้มีความสามารถมากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ขอบเขต (Boundary) เป็นตัวระบุว่าระบบจะทํางานครอบคลุมถึงส่วนใดบ้าง มีหน้าที่อะไรบ้าง และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
  • สิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งต่างๆ หรือระบบอื่นที่อยู่นอกขอบเขตของระบบ แต่มีความสัมพันธ์หรือมีผลกระทบต่อการทํางานของระบบ
  • ระบบย่อย (Subsystem) ได้แก่ ระบบเล็กๆ ที่ทํางานอยู่ภายใต้ระบบ มีขอบเขตและหน้าที่ครอบคลุมเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของความต้องการหรือหน้าที่ของระบบที่ใหญ่กว่า

ประเภทของระบบ

สามารถแบ่งประเภทของระบบได้ตามเงื่อนไขหรือเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • ระบบแบบเรียบง่าย (Simple system) กับ ระบบแบบซับซ้อน (Complex system)
  • ระบบที่คาดการณ์ได้ (Deterministic system) และ ระบบที่ขึ้นอยู่กับความน่าจะเป็น (Probabilistic system)
  • ระบบเปิด (Open System) กับ ระบบปิด (Closed system)
  • ระบบเสถียร (Stable System) กับ ระบบพลวัต (Dynamic system)
  • ระบบถาวร (Permanent system) กับ ระบบชั่วคราว (Temporary system)

การประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบ

การประเมินวัดได้จาก

  • ประสิทธิภาพ (Efficiency) ได้แก่ ผลิตผลลัพธ์ได้เท่าเดิมโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือใช้ทรัพยากรในการผลิตเท่าเดิมสามารถผลิตผลลัพธ์ได้เพิ่มมากขึ้น หรือก็คือวัดจากผลลัพธ์ (output) ที่ได้จากระบบเปรียบเทียบกับสิ่งที่นําเข้า (input) ไปในกระบวนการทํางานของระบบ
  • ประสิทธิผล (Effectiveness) เป็นการวัดความถูกต้องเหมาะสมหรือคุณภาพของผลลัพธ์ เพื่อประเมินว่าระบบได้ผลิตผลลัพธ์ได้ เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

ประเภทของตัวแบบอธิบายระบบ

ตัวแบบระบบ (Model) คือตัวแทนหรือการจําลองระบบจากความเป็นจริง โดยลดความสลับซับซ้อน กําหนดขอบเขตให้เล็กลง ด้วยการตัดตัวแปรที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อง่ายต่อการศึกษา วิเคราะห์ และทําความเข้าใจมากขึ้น ตัวแบบที่นิยมได้แก่ ตัวแบบกราฟิก (Graphical models) ตัวแบบคณิตศาสตร์ (Mathematical models) ตัวแบบบรรยาย (Narrative models) และตัวแบบกายภาพ (Physical models)