การลงทุนอย่างเป็นระบบเป็นอย่างไร ตอบแบบไม่ได้ตั้งใจกวนคือ มีระบบในการลงทุน ทั้งในแง่ของกระบวนการปฏิบัติและตรรกะการคิด แล้วทำไมต้องลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยหละ ก็คงไม่แคล้วอยากรวยอยากสำเร็จ ลึกๆแล้ว ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่คนเรามักจะกลัวความไม่สำเร็จมากกว่าอย่างอื่น ความกลัวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามในแง่การลงทุนที่ว่า จะคุ้มหรือ? เสี่ยงมากน้อยแค่ไหน? จะมั้นใจได้อย่างไร? หากเราตั้งสติแล้วลองแปลงความกลัวมาเป็นคำถามที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการลงทุน ก็คงได้ประมาณว่า …

  • ผลตอบแทนประมาณกี่เปอร์เซนต์
  • ความเสี่ยงขาดทุนมีกี่เปอร์เซนต์
  • โอกาสจะได้กำไร/ขาดทุนมีกี่เปอร์เซนต์
  • หากกำไร/ขาดทุน เฉลี่ยแล้วจะเป็นกี่เปอร์เซนต์

จากคำถามก็นำมาสู่การลงมือให้เห็นจริง จึงต้องลงมือพัฒนาสองสิ่งซึ่งเป็นปัจจัยสำเร็จของการลงทุนอย่างเป็นระบบ ได้แก่

  • เครื่องมือหรือระบบ => ดีหรือไม่ก็ให้ดูที่ผลลัพธ์ คือประสิทธิผลในการทำกำไรมากน้อยเพียงใด และถ้าต้องการพัฒนาระบบให้ดีให้ทำกำไรได้ ก็จะต้องทดสอบและวัดประสิทธิภาพของระบบ (Backtest) เพื่อนำมาวิจัยและพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง
  • แผนการลงทุน => โดยพื้นฐานของแผนนั้น เป็นสิ่งที่สกัดออกมาด้วยตรรกะ ความเป็นเหตุผล เมื่อมีแผนก็อย่าเอาอารมณ์มาครอบงำมันอีก (อุตส่าห์หลุดมาได้แล้วเชียว) แผนที่ดีจะต้องมีความชัดเจน ประกอบความมีวินัยของนักลงทุนเอง ที่จะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างมั่นใจว่า แผนนั้นดีจริงหรือไม่

 

สรุป ระบบที่เยี่ยมยอด = เครื่องมือที่ยืดหยุ่นและใช้ทรัพยากรต่ำ (โดยเฉพาะด้านเวลา) + กลยุทธ์ที่แม่นยำ + แผนที่ชัดเจน