?ปรัชญาชีวิต??เป็นหนังสืออมตะของ?คาลิล?ยิบราน?ซึ่งรู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก?โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สนใจปรัชญาและสาระลึกซึ้ง?นับแต่พิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรก?เมื่อ?ค.ศ.๑๙๒๖?เป็นต้นมา?ก็ได้พิมพ์ไปแล้วหลายสิบล้านเล่ม?ทั้งยังแปลและ?พิมพ์เป็นภาษาต่างๆ?หลายสิบภาษา
กล่าวกันว่า?การอ่านกวีนิพนธ์??ปรัชญาชีวิต??ของ?คาลิล?ยิบราน?นั้น?ผู้อ่านมักจะนึกถึงท่วงทำนองดนตรีไปพร้อมกับภาษาอันสวยงามด้วย?ฉบับภาษาอังกฤษที่เริ่มพิมพ์ครั้งแรกๆจึงได้แบ่งวรรคตอนการคั่นจังหวะไว้เสมือนหนึ่งเป็นท่อนรับที่ว่างจากคำร้อง?แต่แทรกสอดด้วยดนตรีแทน?หรือในอีกความรู้สึกหนึ่งก็คือ?กวีนิพนธ์ของ?คาลิล?ยิบราน?ควรที่ผู้อ่าน?จะดื่มด่ำช้าๆ?อย่างประณีต?ค่อยๆ?ซึมซับความละเอียดอ่อนหวานของภาษา?ลีลาการเขียน?และความหมายอันลึกซึ้ง
ฉบับภาษาอังกฤษของ??The?Prophet??จึงได้ถือปฏิบัติในการเว้นจังหวะโดยใช้ช่องว่าง?หรือมีเครื่องหมายคั่น?ในแต่ละตอนไว้?และยึดถือกันเรื่อยมา?แม้ฉบับที่พิมพ์ครั้งล่าสุด
การพิมพ์ภาษาไทยครั้งนี้ก็ยึดถือแบบแผนเดียวกัน?โดยคงรูปแบบการจัดรูปเล่มของสำนักพิมพ์กะรัตที่ได้ทำไว้?เมื่อ?พ.ศ.๒๕๓๐?นอกจากจะทำให้หนังสือมีรูปเล่มสวยงามแล้ว?ก็ด้วยเหตุผลดังกล่าวเป็นสำคัญ
หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักกันในบรรดานักอ่านทั่วโลก?และแม้แต่ในประเทศไทยก็ได้แพร่หลายมานาน?มหาวิทยาลัยต่างๆ?ในสหรัฐอเมริกา?ยุโรป?และประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ?กำหนดให้หนังสือนี้เป็นคู่มือประกอบการศึกษาวิชาปรัชญา?รวมทั้งมหาวิทยาลัยบางแห่งในประเทศไทยด้วย
ชื่อ??คาลิล?ยิบราน?และหนังสือของกวีท่านนี้กล่าวถึงกันมากในกลุ่มนักอ่าน?นักศึกษา?นักปรัชญา?รวมทั้งกวีและนักเขียน
ในโอกาส?๘๗?ปี?นับแต่พิมพ์ครั้งแรก?และย่างเข้าปีที่?๕๐?ของฉบับแปลภาษาไทย?สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้จัดทำรูปเล่มพิเศษปกแข็ง?และพิมพ์สอดสีด้วยกระดาษชนิดพิเศษ?เพื่อเป็นที่ระลึกและคารวะผู้นิพนธ์?อีกทั้งได้ตรวจแก้ปรับปรุงต้นฉบับจากการพิมพ์ครั้งแรก?ซึ่งตกหล่นไปบ้าง.ให้ครบถ้วนสมบูรณ์

Kahlil Gibran