ตัวอย่างการประเมินความสำเร็จในการฝึกอบรมและการพัฒนานี้ จะใช้การประเมินใน 2 ระดับ คือ การประเมินปฏิกิริยาตอบสนองใช้กระบวนการการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) จากผู้เข้ารับการอบรม โดยมีตัวชี้วัด คือ ความคิดเห็นที่มีต่อเนื้อหาวิชา/วิธีการอบรม/ระยะเวลา/สื่อการสอน/เอกสารประกอบการบรรยาย และการประเมินผลการพัฒนาโครงการสร้างการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะทำการประเมินหลังจากนำโครงการสร้างการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติแล้ว
แบบประเมินจะมีทั้งส่วนที่ให้เขียนบรรยายแสดงความคิดเห็นและแสดงระดับความคิดเห็น โดยจะใช้เกณฑ์มาตราวัดแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) พิจารณาให้น้ำหนักความคิดเห็น เป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด เพื่อเป็นการบอกขนาดความเข้มข้นของความคิดเห็น โดยจะให้คะแนน ดังนี้
ระดับของทัศนคติ |
คะแนน |
มากที่สุด |
5 |
มาก |
4 |
ปานกลาง |
3 |
น้อย |
2 |
น้อยที่สุด |
1 |
สามารถแบ่งช่วงระดับคะแนนโดยใช้เกณฑ์การพิจารณาความกว้างของอันตรภาคชั้น ดังนี้ …
อันตรภาคชั้น = พิสัย / จำนวนชั้น = (คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด) / จำนวนชั้น = 0.8
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงนำมากำหนดการแปลความหมายของระดับความคิดเห็น ดังนี้
ค่าเฉลี่ยคะแนน |
ระดับทัศนคติ |
4.21 – 5.00 |
พึงพอใจมากที่สุด |
3.41 – 4.20 |
พึงพอใจมาก |
2.61 – 3.40 |
พึงพอใจปานกลาง |
1.81 – 2.60 |
พึงพอใจน้อย |
1.00 – 1.80 |
ไม่พึงพอใจ |
ตัวอย่างผลการประเมินการประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง ดังแสดงในตาราง
ประเด็นในการประเมิน |
ค่าเฉลี่ย |
แปลผล |
1. ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสม |
4.00 |
พึงพอใจมาก |
2. เนื้อหาของวิชาในหลักสูตรครอบคลุม เหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพ |
4.00 |
พึงพอใจมาก |
3. วิทยากรที่มาบรรยายในแต่ละวิชามีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในวิชานั้นเป็นอย่างดี |
4.00 |
พึงพอใจมาก |
4. เทคนิค และกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร |
4.25 |
พึงพอใจมากที่สุด |
5. สถานที่ในการจัดหลักสูตรมีความเหมาะสม และช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี |
4.25 |
พึงพอใจมากที่สุด |
6. เอกสาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม |
4.25 |
พึงพอใจมากที่สุด |
7. อาหาร (ตลอดหลักสูตร) |
4.25 |
พึงพอใจมากที่สุด |
8. ภาพรวมระดับความพึงพอใจตลอดหลักสูตร |
4.25 |
พึงพอใจมากที่สุด |